ข้อมูลบุคลากร
May 5, 2022เปิดลงทะเบียน โครงการอบรม”วัสดุตกแต่งภูมิทัศน์”
June 28, 2022ประวัติการก่อตั้ง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ประวัติการก่อตั้ง
พ.ศ. 2521 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้มีแนวคิดที่จะจัดให้มีการสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมในระดับปริญญาตรีขึ้นในครั้งที่ได้มีการประชุมสัมมนา พัฒนา หลักสูตรใหม่ระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม โดยมีวิทยาเขตทั้ง 4 แห่งและผู้แทนจากมหาวิทยาลัย ผู้แทนจากคณะกรรมการ ควบคุมการประกอบวิชาชีพ เข้าร่วมประชุมเพื่อศึกษาความเป็นไปได้
พ.ศ. 2533 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาหลักสูตรปริญญาตรีขึ้นมาใหม่ และได้นำเสนอกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขออนุมัติหลักสูตรจากทบวงมหาวิทยาลัยและสำนักงานข้าราชการพลเรือน (กพ.)
พ.ศ. 2534 เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 60 คน เข้าศึกษาหลักสูตรต่อเนื่อง 3 ปี ในภาควิชาเทคโนโลยี-สถาปัตยกรรม สังกัดคณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร โดยขอใช้อาคารภายในวิทยาเขตอุเทนถวายเป็นสำนักงานภาควิชาจัดการเรียนการสอน
พ.ศ. 2537 หลักสูตรเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรม (กส.) พ.ศ. 2538 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้รับการจัดตั้งภายในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2538 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อดูแลรับผิดชอบและจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาต่าง ๆ ในสายสถาปัตยกรรมศาสตร์
พ.ศ. 2543 สถานที่จัดการเรียนการสอนได้ย้ายเข้าภายในศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานีได้มีการเปิดรับนักศึกษาเพิ่ม หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (5 ปี) ในสาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม สาขาสถาปัตยกรรมภายในและเปิดหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (4 ปี) สาขาการจัดการงานก่อสร้าง รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตร (ปวช.)สายวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายวิทย์-คณิต) และ / หรือเทียบเท่า
พ.ศ. 2544 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ขึ้นภายในสถาบันขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้างและมีการเปิดรับนักศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (3 ปี) ภาคพิเศษ รับผู้จบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
พ.ศ. 2546 ได้เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (3 ปี) ภาคสมทบ รับผู้จบระดัประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และมีประสบการณ์ในการทำงานแล้ว
พ.ศ. 2547 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลมีการจัดการเรียนการสอน 3 สาขาวิชาเอกดังนี้
1.ปริญญาสถาสปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม
หลักสูตร 5 ปี ภาคปกติ
หลักสูตร 3 ปี ภาคพิเศษ
หลักสูตร 3 ปี ภาคสมทบ
2.ปริญญาสถาสปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกสถาปัตยกรรมภายใน
หลักสูตร 5 ปี ภาคปกติ
3.ปริญญาสถาสปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอกการจัดการงานก่อสร้าง
หลักสูตร 4 ปี ภาคปกติ
พ.ศ. 2548 หลักสูตรเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน ได้ผ่านการรรับรองจากสภาสถาปนิก และดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุมศึกษา พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2549 หยุดรับนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเอกการจัดการงานก่อสร้าง (4ปี) เพื่อปรับปรุงหลักสูตรได้รับการรับรองจากสภาสถาปนิก (กส.) ปรับปรุงหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตบัณฑิต (5ปี) สาขาสถาปัตยกรรมภายในอาคารเรียนและปฏิบัติการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 8 ชั้น ก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2549 ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นมา
พ.ศ. 2550 ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (5ปี) สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน ตามระเบียบของสภาสถาปนิก
พ.ศ. 2555 เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงปีพุทธศักราช 2555 ที่ได้มีการปรับปรุงจาก หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และ สถาปัตยกรรมภายใน ซึ่งเป็นหลักสูตรปรับปรุงปี พุทธศักราช 2551
พ.ศ. 2558 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารปฏิบัติการ ศูนย์สำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรม Center of Excellence (COE)
พ.ศ. 2561 เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงปีพุทธศักราช 2561 และได้เปิดความร่วมมือกับสถานบันต่างประเทศในการทำเวิรค์ช๊อป
พ.ศ. 2563 ได้เริ่มการเรียนการสอนออนไลน์ ในสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรน่า (COVID-19)
พ.ศ. 2564 เปิดอบรมหลักสูตร BIM ให้แก่บุคคลภายนอก
พ.ศ. 2566 เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุงปีพุทธศักราช 2566 ที่ได้มีการปรับปรุงจาก หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และ สถาปัตยกรรมภายใน ซึ่งเป็นหลักสูตรปรับปรุงปี พุทธศักราช 2561
พ.ศ. 2567 ได้เปิดปริญญาโท หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.) สาขาวิชาสถาปัตยกรรมนวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืน หลักสูตร 2 ปี
เปิดสอน
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต มี 2 สาขา
1. สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (Bachelor of architecture Program in architecture) หลักสูตร 5 ปีภาคปกติ
2. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน (Bachelor of architecture program in Interior architecture) หลักสูตร 5 ปีภาคปกติ
วิสัยทัศน์
ผลิตผลงานสร้างสรรค์ มุ่งมั่นมาตรฐาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี มีจริยธรรม นำความรู้สู่สังคม
ปรัชญา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จัดการศึกษาโดยมุ่งพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถในการประยุกต์เทคโนโลยีเข้าสู่งานสถาปัตยกรรมเพื่อสร้างสรรค์ผลงานและเป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกสาขางานสถาปัตยกรรม
พันธกิจ
1. บริการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ตรงกับความพึงพอ ใจของผู้รับบริการ
2. สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม บนพื้นฐานของเทคโนโลยีสู่การผลิต การบริการ สามารถถ่ายทอดต่อสังคม
3. บริหารจัดการและพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเข้าสู่องค์กรคุณภาพ
4. เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ เครือข่ายความร่วมมือ ด้านการบริการวิชาการให้กับหน่วยงาน การศึกษา และหน่วยงานอื่น
5. ทำนุบำรุงศาสนา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และรักษาสิ่งแวดล้อม ให้มีคุณค่า
วัตถุประสงค์
1. เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนทางด้านสถาปัตยกรรม ที่มีความชำนาญด้านวิชาชีพ สามารถ นำไปประยุกต์ให้ใช้ในการบริหารจัดการ มีคุณภาพ คุณธรรม และได้มาตรฐานสากล
2. เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาด้านสถาปัตยกรรม ในการพัฒนาประเทศและสังคม
3. เพื่อให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่เน้นการวิจัย การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม แบบพึ่งตนเอง และยั่งยืน
4. เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมภิบาล
เป้าหมาย
1. จัดการศึกษาในปริมาณ และสัดส่วนที่เหมาะสม บัณฑิตมีความรู้ความชำนาญ และทักษะ วิชาชีพตามความต้องการของตลาดแรงงาน
2. สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ และมาตรฐาน ในการชี้นำสังคมและชุมชน
3. จัดบริการทางวิชาการ เพื่อพัฒนากำลังคนด้านสถาปัตยกรรม
4. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
5. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมด้านจริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม คุณภาพ และสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์
1.พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและ ตามความต้องการกำลังคน
2. สร้างประสิทธิภาพด้านงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมให้แก่หน่วยงาน
3. สร้างเครือข่ายและขยายการให้บริการทางวิชาการ เพื่อพัฒนากำลังคน และงานแก่ หน่วยงานภายนอก
4. สนับสนุนให้บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
5. จัดทำมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา
6. พัฒนาคุณภาพงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศด้านวิชาชีพ
7. สนับสนุนให้คณาจารย์ และนักศึกษามีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม