
ขอเชิญชมละคร ALICEn IN WONDERLAND จากคณะสถาปัตย์ครั้งที่ 2 ในวันที่ 18-20 มีนาคม 2558 นี้
February 26, 2015
รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า มทร.ธัญบุรี ได้ทำการสำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิต มทร.ธัญบุรี โดยมีผู้กรอกแบบสอบถามทั้งสิ้น 4,739 คน จากบัณฑิตทั้งหมด 5,224 คน คิดเป็นร้อยละ 90.72 พบว่า บัณฑิต มทร.ธัญบุรี มีงานทำ และเข้ารับการศึกษาต่อในภาพรวม ร้อยละ 80.30 โดยบัณฑิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีงานทำมากสุด ร้อยละ 89.67 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ 87.33 วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย 84.52 คณะบริหาร ธุรกิจ ร้อยละ 83.70 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร้อยละ 83.14 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม 82.94 คณะศิลปศาสตร์ ร้อยละ 81.18 คณะเทคโนโลยีการเกษตร 77.59 คณะเทคโนโลยี สื่อสารมวลชน ร้อยละ 74.25 คณะศิลปกรรมศาสตร์ ร้อยละ 70.53 และคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ร้อยละ 65.30 ตามลำดับ นอกจากนี้ในการสำรวจยังพบข้อมูล ที่น่าสนใจคือ ผู้สำเร็จการศึกษาจาก มทร.ธัญบุรี มีงานทำ หลังจากสำเร็จการศึกษาภายใน 6 เดือน ถึงร้อยละ 91.30 โดยได้งานระหว่างศึกษา ร้อยละ 5.39 ได้งานทันทีร้อยละ 22.98 และได้งานหลังสำเร็จการศึกษา 1-3 เดือน ร้อยละ 38.7 ได้งานทำภายใน 4-6 เดือน ร้อยละ 18.33
อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวอีกว่า เป็นที่น่าสังเกต ว่า คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีงานทำมากที่สุด และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีงานทำเกินกว่า ร้อยละ 80 แสดง ให้เห็นว่ามีการขยายตัวด้านการก่อสร้าง ประเทศมีการขยายตัวด้านการลงทุน และบริษัทมีอัตราการเติบโตมากขึ้น ขณะที่คณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรมก็มีอัตราการมีงานทำเพิ่มขึ้นเช่นกัน แสดงให้เห็นว่าครูช่างของ มทร.ธัญบุรี ทำงานในอาชีวศึกษาทั้งรัฐและเอกชน แต่ที่ลดลงจากปีที่ผ่านมา คือคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน น่าจะเป็นเพราะก่อนหน้านี้สื่อทีวีดิจิตอลมีการขยายตัวอย่างมาก ทำให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษารุ่นก่อนหน้านี้ ได้รับการตอบรับจากบริษัท ที่ขยายตัว ส่วนบัณฑิตรุ่นนี้ เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ ทางด้านการเมืองและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทำให้ไม่มีการขยายงาน แต่เชื่อว่า ในปี 2559 สถานการณ์จะกลับมา ดีกว่าเดิม สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนจึงเป็นสาขาที่มี ความต้องการของภาคธุรกิจอยู่
“มหาวิทยาลัยได้รับข้อเสนอแนะจากสถานประกอบการ เพิ่มเติมในเรื่องของภาษาต่างประเทศ ซึ่งเรื่องนี้ มทร.ธัญบุรี มีการปรับปรุงหลักสูตรใน 2 ปีข้างหน้านักศึกษาที่อยู่ใน หลักสูตรใหม่จะมีทักษะทางด้านภาษาที่ดีขึ้น ส่วนนักศึกษาที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา ผมมีนโยบายที่จะเพิ่มทักษะทางด้าน ภาษาให้ โดยจะคง license ให้อีก 1 ปี เพื่อให้สามารถเข้ามา หาความรู้ด้านภาษาต่างๆ จากระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัย” รศ.ดร.ประเสริฐ กล่าว